วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ตัวอย่างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้คำ2

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้คำ


  • โอกาศหรือ โอกาส

เป็นคำที่พบบ่อยคำหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะเขียนเป็น โอกาศซึ่งในพจนานุกรมไม่ปรากฏความหมายของคำนี้
ความหมายตามพจนานุกรม
โอกาส [กาด] น. อธิบายไว้ว่า หมายถึง ช่อง, ทาง; เวลาที่เหมาะ, จังหวะ. (ป.; ส. อวกาศ).?บางครั้งเมื่อใช้ในพระราชพิธี หรือ งานที่มีพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จฯ จะใช้ วโรกาสซึ่งเป็นราชาศัพท์ ที่สื่อความหมายเดียวกันกับข้างต้นขอให้พึงจำว่า กาศใช้กับ อากาศ” “อวกาศ” “ประกาศเป็นอาทิเหตุเพราะคำว่า โอกาศเขียนผิดเป็นส่วนมาก ฉะนั้น เราจึงต้องหา โอกาสเรียนรู้ ฝึกฝน เพื่อที่จะเขียนคำว่า โอกาสให้ถูกต้อง

  • อนุญาตหรือ อนุญาติกันแน่

หลายคนคุ้นตา กับ การเขียนเป็น อนุญาติซึ่งแท้จริงแล้วคำนี้ เขียนผิด และไม่มีความหมาย
ความหมายตามพจนานุกรม
อนุญาตไม่ต้องมีสระ อิหลัง โดยให้ความหมายของคำไว้ว่า อนุญาต ก. ยินยอม, ยอมให้, ตกลง.
ญาติ” , ญาติ- [ยาด, ยาติ-, ยาดติ-] น. ได้อธิบายว่า หมายถึง คนในวงศ์วานที่ยังนับรู้กันได้ทางเชื้อสาย ฝ่ายพ่อหรือฝ่ายแม่. (ป.).

ฉะนั้น ต่อไปเราจะไม่ยอมเขียนว่า อนุญาติแต่จะพึงจำและเขียนว่า อนุญาตเสมอและ อนุญาตให้ทุกท่านฝึกฝน หัดเขียนหลายๆ หน จนคุ้นตา




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น