วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้คำ

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้คำ





เนื่องจาก ภาษาไทย ในปัจจุบันนี้มี วัยรุ่น จำนวนมากจะมี คำที่เขียนผิด?อาจจะเป็น เพราะทุกวันนี้ เด็กไทยไม่ได้ อ่านหนังสือ หรือ เขียนหนังสือกันสักเท่าไร ! ยิ่งตอนนี้ก็มีแท็ปแล็ต คอมพิวเตอร์เล่นกัน เวลาหาข้อมูลทำการบ้าน รายงาน ก็แค่ ก๊อปปี้ แล้ว วาง ง่ายสะดวก ก็เลยอาจจะเป็นหนึ่งในสาเหตุ ที่ทำให้เด็กไทยเขียนหนังสือ ผิดๆถูกๆ หรือ สะกดคำ ไม่ถูกต้อง (บางทีเราก็เขียนผิด เข้าใจผิดอยู่)

  • สังเกตุหรือ สังเกต

คำนี้หลายคนเข้าใจว่า ต้องเขียนว่า สังเกตุคือ มีสระอุ ใต้ ”?แต่ที่ถูกต้องตามพจนานุกรม จะต้องเขียนว่า สังเกตคือ ไม่มีสระอุ เพราะหากเติมสระอุ เมื่อใด ความหมายจะผิดเพี้ยน
ความหมายตามพจนานุกรม
สังเกตก. กําหนดไว้, หมายไว้, เช่น ทำเครื่องหมายไว้เป็นที่สังเกต; ตั้งใจดู, จับตาดู, เช่น ไม่ได้สังเกตว่าวันนี้เขาแต่งตัวสีอะไร สังเกตกิริยาท่าทางเขาไว้ว่าเป็นคนดีหรือคนร้าย

เกตุ”, “เกตุ”- [เกด, เก-ตุ-, เกด-] น. ธง; (โหร) ชื่อดาวพระเคราะห์ดวงที่ ๙ หมายถึงตําแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากเหนือระนาบสุริยวิถี ลงสู่ใต้ระนาบสุริยวิถี ส่วนตําแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจาก ใต้ระนาบสุริยวิถีขึ้นเหนือระนาบสุริยวิถี เรียกว่า พระราหู. (ป., ส.).

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น