วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2558

การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation)

 

การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation)

ชื่อ นางสาว ชลดา   สกุล  วานิช    เลขที่ 35   ห้อง ม.5/9
กลุ่มที่  8
ปัญหา ความเข้าใจผิดในชีวิตประจำวัน

ที่มาและความสำคัญของปัญหา
    สำหรับที่มาของปัญหานั้นมาจากการสังเกตเห็นว่าในปัจจุบันได้มีการใช้อุปกรณ์ ภาษา หรืออาการต่างๆ ในความเชื่อที่ผิดๆ บ้างก็ว่าทำอย่างนั้นไม่ดีทำอย่างนี้ไม่ได้  เช่น การชาร์ตแบตโทรศัพท์ข้ามคืนไม่ได้บ้าง อย่าปิดเครื่องถ้าไม่จำเป็นบ้าง ห้ามออกจากบ้านขระผมเปียกบ้าง รวมถึงการใช้ภาษาในปัจจุบันด้วย  เนื่องจาก วัยรุ่นจำนวนมากที่เขียนหนังสือแล้วจะมีคำบางคำที่เขียนผิดใช้กันผิด เพราะทุกวันนี้ เด็กไทยไม่ได้ อ่านหนังสือ หรือ เขียนหนังสือ เพราะมีเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกมากมายตอนนี้ก็มีคอมพิวเตอร์ โน๊คบุ๊ค เวลาหาข้อมูลทำการบ้าน รายงานบางครั้งก็ไม่ได้อ่านทำความเข้าใจ อาจจะเป็นหนึ่งในสาเหตุ ที่ทำให้เด็กไทยเขียนหนังสือ ผิดๆถูกๆ หรือ สะกดคำ ไม่ถูกต้อง
      ปัญหาทุกปัญหาล้วนมีความสำคัญและควรได้รับการแก้ไข เพื่อความเข้าใจที่แจ่มแจ้งและเพื่อรักษาความถูกต้องไว้ ทั้งนี้ที่จัดทำขึ้นทำให้รู้ถึงปัญหาและเพื่อความถูกต้อง

ความเข้าใจผิดในชีวิตของคนเรามีมากมายหลายหัวข้อและนี้เป็ตัวอย่างความเข้าใจผิดที่พบได้
บ่อยๆที่เราจะนำมาเสนอ
  • ความเข้าใจผิดในการใช้คำ
  • ความเข้าใจผิดในการใช้อุปกรณ์
  • ความเข้าใจผิดในอาการต่างๆ



วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาปัญหาความเข้าใจผิดในชีวิตประจำวัน
2.เพื่อเรียนรู้วิธีการสร้างภาพยนต์สั้น

ผลการศึกษา
      จากการศึกษาตามปัญหาที่ได้ตั้งไว้ทำให้ทราบว่าบางปัญหาเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเข้าใจผิด แต่เราก็ยังเข้าใจผิด บางเรื่องเราก็ไม่ได้ทำถูกไปซะทุกอย่าง
ทำให้ได้ประโยชน์จากการศึกษาในหลายๆด้าน ดังนี้
ความรู้ด้านอุปกรณ์1.ใช้อุปกรณ์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม2.ดูแลรักษาได้อย่างถูกวิธี3.สามารถสังเกตและซ่อมแซมอุปกรณ์ได้
ความรู้ด้านภาษา4.ใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง5.ไม่เกิดการใช้ภาษาผิด6.มีความสามารถในการอ่านเขียนและวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง
ความรู้ด้านโรคภัย7.สามารถรู้สาเหตุของการเกิดโรคได้8.สามารถรักษาได้อย่างถูกวิธี9.สามารถสังเกตอาการผิดปกติได้10.มีความรู้ความสามารถในการรักษาโรค
       และเพื่อให้เกิดความชัดเจนจากการทำปัญหานี้ก็ได้มีการทำหนั้งสั้น ในตอนนี้อยู่ในช่วงของการเรียนรู้การใช้งานอุปกรณ์ การถ่ายภาพถ่ายวิดีโอ และการตัดต่อชิ้นงานกันอย่างคร่าวๆ จากการฝึกอบรมมีการถ่ายหนังสั้นเล็กๆ4-6 นาที เพิ่อดูเป็นแบบอย่างและฝึกฝนปฎิบัติเพื่อนำไปใช้งานจริง

เสนอแนวคิดในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้จากการค้นพบ
       จากการที่ได้ทำการศึกษาที่ได้เลือกปัญหานี้มานี้มาเพราะมันเป็นประเด็นที่เปิดกว้าง มีหลายๆอย่างหลายๆด้าน ให้ได้ศึกษาเราจึงเลือกหัวข้อนี้ เราได้ความคิดเห็นและข้อสรุปมาจากการทำแบบสอบออนไลน์ที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อดูว่าบุคคลอื่นๆปฏิบัติอย่างไรบ้าง เป็นเพียงข้อมูลที่ไม่มากแต่ก็ทำให้รู้ว่ายังมีอีกหลายคนที่พบเจอปัญหานี้

นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเรียนวิชา IS1
        ทำให้เราทราบปัญหามากยิ่งขึ้น ทำให้เราฝึกการทำงานกันอย่างเป็นระบบมีการวางแบบแผนก่อนลงมือปฏิบัติ มีการลงมือทำจริง  ช่วยให้เราได้ทำการศึกษาด้วยตัวเองและข้อเสนอแนะจากครูผู้สอน ทั้งการทำโปรแกรม การตัดต่อวิดีโอ และเทคนิคการถ่ายภาพจากการจัดอบรม ไม่ถึงขั้นเก่งแต่ก็ทำให้มีความเคยชินที่จะใช้อุปกรณ์มาบ้าง   

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความเข้าใจผิดในชีวิตประจำวัน


ความเข้าใจผิดในชีวิตประจำวัน
  • ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการชาร์จแบตฯ สมาร์ทโฟน
  • ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้คำ
  • ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับผม





ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการชาร์จแบตฯ สมาร์ทโฟน


ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการชาร์จแบตฯ สมาร์ทโฟน




ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการชาร์จแบตเตอรี่ที่ผู้ใช้สมาร์ทโฟนส่วนใหญ่กังวัลว่าจะทำให้แบตเตอรี่เสื่อม

           เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินหรือรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการชาร์จแบตเตอรี่สมาร์ทโฟนที่บอกว่าการชาร์จแบบนั้นแบบนี้จะทำให้แบตเตอรี่เสื่อม จนถึงขั้นทำให้เครื่องระเบิดได้กันมาบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งวันนี้กระปุกดอทคอมจึงหยิบเอาเรื่องน่ารู้ของการชาร์จแบตเตอรี่สมาร์ทโฟนจากเว็บไซต์ mashableมาแนะนำให้ทราบกัน
  • ใช้ตัวชาร์จแบตเตอรี่ยี่ห้ออื่นทำให้แบตเตอรี่เสื่อมไว 
           ความเชื่อนี้ไม่เป็นความจริงสักเท่าไร เพราะคุณสามารถเลือกซื้อตัวชารจ์ที่มีราคาถูกกว่าของจริงมาใช้แทนได้ แต่ต้องเป็นแบรนด์ที่ได้รับการรับรองจากแบรนด์ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนเท่านั้น ซึ่งทางเว็บไซต์ Lifehacker ได้ทำการทดลองเพื่อพิสูจน์ว่าอุปกรณ์ชาร์จแบตเตอรี่ชนิดใดปลอดภัยที่สุด โดยผลที่ได้ออกมาคือตัวชาร์จของแท้มีความปลอดภัยที่สุด รองลงมาคือตัวชาร์จแบรนด์อื่นที่ได้รับการรับรอง และสุดท้ายที่ไม่ค่อยปลอดภัยเท่าไรคือตัวชาร์จของปลอมซึ่งไม่ได้มาตรฐานนั่นเอง




ถ้าแบตเตอรี่ไม่หมด ห้ามชาร์จเด็ดขาด




  • ถ้าแบตเตอรี่ไม่หมด ห้ามชาร์จเด็ดขาด
           เตรียมโบกมือลาแบตเตอรี่สมาร์ทโฟนของคุณได้เลย ถ้ายังปล่อยให้แบตเตอรี่หมดจนเครื่องดับแล้วค่อยชาร์จ โดยสิ่งที่ควรทำคือเสียบสายชาร์จทันทีที่แบตเตอรี่ใกล้หมด อย่าปล่อยให้เครื่องดับเด็ดขาด เพราะตามรายงานของเว็บไซต์ Gizmodo เผยว่าแบตเตอรี่ส่วนใหญ่ที่อยู่ในสมาร์โฟนเป็นแบบลิเธียมไอออน ที่มีจำนวนรอบการใช้งานมาก แต่ก็จำกัดเช่นกัน หากปล่อยให้แบตเตอรี่หมดเหลือ 0 เปอร์เซ็นต์ ก็จะทำให้จำนวนรอบของแบตเตอรี่ลดลงตามไปด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุให้แบตเตอรี่เสื่อมไว


ชาร์จไฟข้ามคืนทำให้แบตเตอรี่พัง





  • ชาร์จไฟข้ามคืนทำให้แบตเตอรี่พัง
           เชื่อว่าหลายคนคงมีความเชื่อว่าชาร์จแบตข้ามคืนทำให้แบตเตอรี่พัง จนอาจส่งผลให้สมาร์ทโฟนเกิดระเบิดได้ ซึ่งก็มีรายงานจากเว็บไซต์ Deemable ที่ขัดแย้งกับความเชื่อนี้ โดยทางเว็บไซต์ดังกล่าวระบุว่าปัจจุบันสมาร์ทโฟนมีความฉลาดอันน่าเหลือเชื่อ เพราะมันจะตัดไฟเองเมื่อแบตเตอรี่ถูกชาร์จจนเต็มแล้ว อย่างไรก็ตาม เว็บไซต์ Yahoo มีรายงานเสริมว่าผู้ใช้ไม่ควรชาร์จสมาร์ทโฟนข้ามคืนติดต่อกันทุกวัน และถ้าแบตเตอรี่ยังเหลือที่ 40-80 เปอร์เซ็นต์อยู่ ก็ยังไม่ต้องชาร์จก็ได้ 


Cr.http://men.kapook.com/view107254.html

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้คำ

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้คำ





เนื่องจาก ภาษาไทย ในปัจจุบันนี้มี วัยรุ่น จำนวนมากจะมี คำที่เขียนผิด?อาจจะเป็น เพราะทุกวันนี้ เด็กไทยไม่ได้ อ่านหนังสือ หรือ เขียนหนังสือกันสักเท่าไร ! ยิ่งตอนนี้ก็มีแท็ปแล็ต คอมพิวเตอร์เล่นกัน เวลาหาข้อมูลทำการบ้าน รายงาน ก็แค่ ก๊อปปี้ แล้ว วาง ง่ายสะดวก ก็เลยอาจจะเป็นหนึ่งในสาเหตุ ที่ทำให้เด็กไทยเขียนหนังสือ ผิดๆถูกๆ หรือ สะกดคำ ไม่ถูกต้อง (บางทีเราก็เขียนผิด เข้าใจผิดอยู่)

  • สังเกตุหรือ สังเกต

คำนี้หลายคนเข้าใจว่า ต้องเขียนว่า สังเกตุคือ มีสระอุ ใต้ ”?แต่ที่ถูกต้องตามพจนานุกรม จะต้องเขียนว่า สังเกตคือ ไม่มีสระอุ เพราะหากเติมสระอุ เมื่อใด ความหมายจะผิดเพี้ยน
ความหมายตามพจนานุกรม
สังเกตก. กําหนดไว้, หมายไว้, เช่น ทำเครื่องหมายไว้เป็นที่สังเกต; ตั้งใจดู, จับตาดู, เช่น ไม่ได้สังเกตว่าวันนี้เขาแต่งตัวสีอะไร สังเกตกิริยาท่าทางเขาไว้ว่าเป็นคนดีหรือคนร้าย

เกตุ”, “เกตุ”- [เกด, เก-ตุ-, เกด-] น. ธง; (โหร) ชื่อดาวพระเคราะห์ดวงที่ ๙ หมายถึงตําแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากเหนือระนาบสุริยวิถี ลงสู่ใต้ระนาบสุริยวิถี ส่วนตําแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจาก ใต้ระนาบสุริยวิถีขึ้นเหนือระนาบสุริยวิถี เรียกว่า พระราหู. (ป., ส.).

ตัวอย่างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้คำ

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้คำ

  • นะคะหรือ นะค่ะ

อีกคำหนึ่งที่มักเห็นเขียนผิดกันบ่อยครั้ง คือคำว่า นะคะกับ นะค่ะคำที่ลงท้ายว่า คะใช้กับการบอกกล่าว คำที่ลงท้ายว่า ค่ะใช้กับการ รับคำ แต่เรามักเห็น เขียนคำว่า นะค่ะเป็นคำบอกกล่าว เช่น อย่าลืมซื้อเค้ก มาฝาก นะค่ะซึ่งจริงๆ ต้องเขียนว่า นะคะ” (ออกเสียงค๊ะ) โดยไม่ต้องเติม ไม้เอก เพราะว่า

คะอักษรต่ำ คำตาย สระเสียงสั้น ไม่มีวรรณยุกต์ ออกเสียงตรี เช่นเดียวกับ นะ” “จ๊ะ” “วะ
ค่ะอักษรต่ำ คำตาย สระเสียงสั้น มีวรรณยุกต์เอก ออกเสียงโท เช่นเดียวกับ น่ะ” “จ้ะ” “ว่ะ



ตัวอย่างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้คำ2

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้คำ


  • โอกาศหรือ โอกาส

เป็นคำที่พบบ่อยคำหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะเขียนเป็น โอกาศซึ่งในพจนานุกรมไม่ปรากฏความหมายของคำนี้
ความหมายตามพจนานุกรม
โอกาส [กาด] น. อธิบายไว้ว่า หมายถึง ช่อง, ทาง; เวลาที่เหมาะ, จังหวะ. (ป.; ส. อวกาศ).?บางครั้งเมื่อใช้ในพระราชพิธี หรือ งานที่มีพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จฯ จะใช้ วโรกาสซึ่งเป็นราชาศัพท์ ที่สื่อความหมายเดียวกันกับข้างต้นขอให้พึงจำว่า กาศใช้กับ อากาศ” “อวกาศ” “ประกาศเป็นอาทิเหตุเพราะคำว่า โอกาศเขียนผิดเป็นส่วนมาก ฉะนั้น เราจึงต้องหา โอกาสเรียนรู้ ฝึกฝน เพื่อที่จะเขียนคำว่า โอกาสให้ถูกต้อง

  • อนุญาตหรือ อนุญาติกันแน่

หลายคนคุ้นตา กับ การเขียนเป็น อนุญาติซึ่งแท้จริงแล้วคำนี้ เขียนผิด และไม่มีความหมาย
ความหมายตามพจนานุกรม
อนุญาตไม่ต้องมีสระ อิหลัง โดยให้ความหมายของคำไว้ว่า อนุญาต ก. ยินยอม, ยอมให้, ตกลง.
ญาติ” , ญาติ- [ยาด, ยาติ-, ยาดติ-] น. ได้อธิบายว่า หมายถึง คนในวงศ์วานที่ยังนับรู้กันได้ทางเชื้อสาย ฝ่ายพ่อหรือฝ่ายแม่. (ป.).

ฉะนั้น ต่อไปเราจะไม่ยอมเขียนว่า อนุญาติแต่จะพึงจำและเขียนว่า อนุญาตเสมอและ อนุญาตให้ทุกท่านฝึกฝน หัดเขียนหลายๆ หน จนคุ้นตา




ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับผม

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับผม



     ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับเส้นผม ที่เชื่อว่าผู้หญิงหลายคนอาจจะเคยได้ยินมาก่อนตั้งแต่เด็กแล้วล่ะ ซึ่งบางความเชื่ออาจทำให้คุณสาว ๆ หลายคนปฏิบัติตามจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ เอาเป็นว่าวันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจของความเขื่อผิด ๆ 7 ข้อเกี่ยวกับเส้นผมให้คุณได้รู้ความจริง และจะได้ลืมความเชื่อผิด ๆ เหล่านั้นไป รู้แบบนี้แล้วก็อย่ารอช้า มาดูกันเลยดีกว่าจ้า

  • หวีผม 100 ครั้งต่อวัน

          เชื่อว่าผู้หญิงจำนวนไม่น้อยต้องเคยได้ยินความเชื่อนี้ ที่ว่าการหวีผม 100 ครั้งต่อวัน จะทำให้ผมยาว และนุ่มสลวย แต่ผลวิจัยชี้ว่าการหวีผมกว่า 100 ครั้งต่อวัน จะเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมแห้งแตกปลายแทน สาว ๆ ควรหวีเอาแต่พอดีจะดีกว่านะคะ เพราะความเชื่อนี้ไม่จริงแต่อย่างใด






ตัวอย่างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับผม

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับผม

  • สระผมทุกวัน

          ใครกันนะที่บอกว่าถ้าสระผมทุกวัน จะทำให้ผมยาวไว แต่ความจริงแล้วการสระผมทุกวันนับเป็นการทำลายเส้นผมมากกว่า เพราะเมื่อคุณสระผมแต่ละครั้ง น้ำมันที่หล่อเลี้ยงเส้นผมจากธรรมชาติและโปรตีนจะหายไป ฉะนั้นควรเลิกนิสัยสระผมทุกวัน แล้วเปลี่ยนเป็นสระวันเว้นวัน หรือสระแค่เวลาที่ผมสกปรกจะดีที่สุด

  • เดินออกไปรับลมเย็นตอนผมเปียก
          ตอนเด็กอาจจะเคยได้ยินจากคุณย่าคุณยายบ้าง ว่าเมื่อสระผมเสร็จแล้วให้เดินออกไปรับลมเย็น ๆ ผมจะได้แห้งไว แต่ความจริงแล้วอากาศเย็นที่มาปะทะตัวตอนผมเปียก อาจทำให้คุณไม่สบายได้ อีกทั้งอากาศข้างนอกมีทั้งเชื้อโรค และแบคทีเรียมากมายที่อาจทำให้คุณเจ็บป่วยได้ง่าย ๆ ฉะนั้นอยู่ในบ้านเป่าพัดลม หรือใช้ไดร์เป่าผมสลับไปบ้างดีกว่า




ไขความลับ! 10 การกระทำในชีวิตประจำวันที่คุณอาจเข้าใจผิดไม่รู้ตัว

ไขความลับ! 10 การกระทำในชีวิตประจำวันที่คุณอาจเข้าใจผิดไม่รู้ตัว